โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536




บุคลากร

นาย วุฒิชัย รักชาติ
ผู้อำนวยการ
วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม

นางสาว พัชรา เอกสินิทธ์กุล
รองผู้อำนวยการ
    วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม ฝ่ายวิชาการ  

นางสาว เพ็ญศรี จตุราวิยสัจ
  ผู้รับผิดชอบโครงการ  
  ตำแหน่ง : ข้าราชการครู 
    นางสาว ณัฐวดี หอมบุปผา   
  ผู้รับผิดชอบโครงการ
ตำแหน่ง : ครูผู้ช่วย 
นางสาว จินดาภา อิ่มด้วง   
  ผู้รับผิดชอบโครงการ 
ตำแหน่ง   : ครูผู้ช่วย 

  นาย อนุวัตร อินทนชิตจุ้ย   
  ผู้รับผิดชอบโครงการ 
  ตำแหน่ง : ครูอัตราจ้าง 
  นางสาว สุชาดา เข็มเงิน 
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ตำแหน่ง : ครูอัตราจ้าง

ฐานข้อมูลพันธ์ไม้

...
กุหลาบแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rosa spp
วงศ์ : Rosaceae
ชื่อสามัญ: Rose
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : มีทั้งไม้เลื้อย ไม้พุ่มสูง 1-2 ม. ต้นและใบมีกิ่งหนาม ใบเป็นใบ ประกอบแบบขนนก ประกอบด้วย 3 ใบ หรือ 5 ใบ ขอบใบจัก หูใบติดกับก้านใบหรือเป็นอิสระ ออกดอกที่ปลายกิ่ง อาจจะเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ กลีบรองดอกเป็นรูปถ้วยสีเขียว ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกตามปกติมี 5 กลีบ แต่ลูกผสมจะมีกลีบจำนวนมาก เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก เกสรตัวเมียอยู่ตรงกลางดอก ผลกลมภายในมีเมล็ดแข็งจำนวนมาก เมล็ดอยู่ภายใน กลีบรองดอกที่ขยายใหญ่ขึ้นกุหลาบมีหลายชนิด และหลายพันธุ์ ดอกมีหลายสีแตกต่างกันตามพันธุ์ เช่น แดง ขาว ชมพูมีกลิ่นหอม ประโยชน์ : ใช้เป็นไม้ประดับ , ดอก กลีบดอกแรกแย้ม สกัดได้น้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นโดยเฉพาะเครื่องสำอาง ทำดอกไม้ประดิษฐ์ และบุหงา ผล มีวิตามินซีมาก
...
ว่านหางจระเข้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe barbadensis Mill
ชื่อวงศ์ : Aloaceae
ชื่อสามัญ : Aloe Vera
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : มีความสูงประมาณ 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบหนาและยาว อวบน้ำ แผ่นใบมีสีเขียว มีจุดยาวสีขาวอ่อนออกเรียงเวียนรอบต้น โคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก มีหนามแหลมเล็ก ๆ สีขาวอยู่ห่างกัน ข้างในใบเป็นวุ้นสีเขียวอ่อน ส่วนดอกว่านหางจระเข้ ออกดอกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ดอกมีสีแดงอมสีเหลือง ก้านช่อดอกยาว โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น เป็นรูปแตร ส่วนผลว่านหางจระเข้ เป็นผลแห้งคล้ายรูปกระสวย สรรพคุณทางยา : ใบ รักษาแผลไฟไหม้และแผลน้ำร้อนลวก น้ำยางสีเหลืองจากใบ เคี่ยวให้แห้งเรียกว่า ยาดำ เป็นยาระบาย วุ้นสดจากใบ ปิดขมับแก้ปวดหัว และใช้รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลไหม้เกรียมจากแสงแดด แผลสด แผลเรื้อรัง รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
...
ผักโขม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amaranthus viridis
วงศ์ : Amaranthaceae
ชื่อสามัญ : Amaranth
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ลำต้น ลำต้นตั้งตรง อวบน้ำ เรียบเป็นมัน สูง 30 - 80 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาไม่มาก ต้นสีเขียว ไม่มีหนาม โคนมีสีแดงน้ำตาล ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับข้างกันข้อละใบ ใบรูปกลมออกสามเหลี่ยม โคนใบกว้าง ปลายใบเรียวมน หรือมีรอยหยักเล็ก ๆ ที่ปลาย ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นน้อย ๆ ขนาดยาว 4 - 10 เซนติเมตร กว้างเกือบเท่าความยาว ก้านใบยาวเท่า ๆ กับใบหรือยาวกว่าเล็กน้อย ผิวและขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด (spike) ตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ แยกเป็นช่อดอกตัวผู้และตัวเมีย ช่อดอกประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กสีม่วงปนเขียว ไม่มีก้าน ติดอยู่เป็นกระจุกรอบแกนกลางของช่อ ช่อดอกยาว 10 - 20 เซนติเมตร ดอกย่อยมีแผ่นสีเขียวคล้ายใบ เป็นแผ่นบางรองรับอยู่ สั้นกว่ากลีบดอก ปลายแหลม สีเขียว กลีบเลี้ยงและกลีบดอก มี 3 กลีบ ดอกตัวผู้มีเกสรตัวผู้ 3 อัน ดอกตัวเมียมีปลายยอดของรังไข่แยกเป็น 2 เส้น ผล เมื่อแก่เต็มที่มีลักษณะกลมรี แตกแบบไม่สม่ำเสมอหรือไม่แตกออกเลย เมล็ดมีสีน้ำตาลแดงไปจนถึงดำ รูปร่างคล้ายเลนส์ เป็นมัน มีขนาดเล็ก ประโยชน์: เป็นสมุนไพรแก้คันตามผิวหนัง ทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม แก้พิษแมงป่อง ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไข้ ไข้หวัดต่าง ๆ
...
อัญชัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea L.
วงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ชื่อสามัญ : Blue pea, Butterfly pea
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเลื้อยพันไม่มีหนวด เถากลมเล็กเรียวยาว ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับใบย่อย 5-7 ใบ โคนใบแหลมหรือมน ปลายใบมนหรือแหลม เส้นใบ 6 คู่ ใบย่อย รูปไข่หรือรูปวงรีปลายมน ผิวและขอบใบเรียบ บาง สีเขียว ดอก มีทั้งชนิดดอกชั้นเดียว และดอกซ้อนมีสองสี คือชนิดดอกสีขาวและดอกสีม่วง ดอกขนาด 4-5 เซนติเมตร กลีบดอกรูปไข่กลับ กลีบเลี้ยง 5 กลีบเชื่อมติดกันปลายแยกเป็นแฉก กลีบดอกรูปดอกถั่ว ฝัก ยาวเหมือนฝักถั่วเขียว ผิวมีขนละเอียด ปลายเป็นติ่งหนาม มีเมล็ดรูปไต 5-10 เมล็ด สีน้ำตาลเกือบดำ ประโยชน์ : สีดอกใช้ผสมอาหารได้ แก้ปัสสาวะพิการ ระบายท้อง แก้เจ็บตา ตาฟาง ปลูกเป็นไม้ประดับตามรั้ว ทำขนมหวานคาว
...
จันทน์หอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mansonia gagei Drumm.
วงศ์ : STERCULIACEAE
ชื่อสามัญ : Kalametv
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : จันทน์หอมเป็นไม้ต้น ผลัดใบ ความสูง 10-20 เมตร เปลือกสีเทาแตกเป็นร่อง ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบเป็นรูปไข่ รูปรี หรือรูปขอบขนาน ความกว้างของใบประมาณ 3-6 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจตื้น ๆ มีลักษณะเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบจักฟันเลื่อยตื้น ๆ มีเส้นโคนใบประมาณ 3-5 เส้น Mbr>ช่อดอกเป็นแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งและซอกใบ ดอกเป็นสีขาว มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกประมาณอย่างละ 5 กลีบ โดยที่กลีบเลี้ยงยาวกว่ากลีบดอก ออกดอกในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ส่วนผลเป็นผลปีกเดียวรูปกระสวย ความยาวของผลประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มักออกผลเป็นคู่ ประโยชน์ : เนื้อไม้ กระพี้ สีขาว แก่นสีน้ำตาลเข้ม ไสกบตบแต่งง่าย ไม้ที่ตายเองจะมีกลิ่นหอม ใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า เครื่องกลึง เครื่องแกะสลัก ทำหวี ดอกไม้จันทน์ ธูป น้ำมันหอมที่ได้จากการกลั่นชิ้นไม้ ใช้ปรุงเครื่องหอม และเครื่อง สำอาง ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ เนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้โลหิตเสีย แก้กระหายน้ำและอ่อนเพลีย
...
หมากเขียว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ptychesperma
วงศ์ : ARECACEAE
ชื่อสามัญ : Macarthurs Plam
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ปาล์ม มีลักษณะเป็นทรงพุ่มสูง 2.5 - 3 เมตร กว้าง 1-1.5 เมตร ลำต้นเหนือดิน เปลือกลำต้นมีลักษณะเรียบ มีสีเขียวออกน้ำตาล ไม่มียาง ใบเป็นใบเดี่ยวแบบขนนก แผ่นใบเป็นรูปเข็ม กว้าง 4 เซนติเมตร ยาว 25 เซนติเมตร ปลายใบมีลักษณะแหลม โคนใบลิ่ม ขอบใบเรียบ มีสีเขียวอ่อน ออกเป็นดอกช่อแยกแขนง ไม่มีกลิ่น ซึ่งจะออกดอกตรงตามลำต้นหรือกิ่ง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 3 แฉก มีสีเขียว กลีบดอกแยกกัน ซึ่งมีรูปดอกพิเศษเป็นรูปกากบาท เกสรเพศผู้มีจำนวน 20 อัน สีขาวนวล เกสรเพศเมียมีจำนวน 1 อัน สีขาวนวล รังไข่เหนือวงกลีบ ผลเป็นผลเดี่ยว ผลสดมีลักษณะเป็นผลเมล็ดเดี่ยวแข็ง ผลแห้งมีลักษณะเป็นผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว ซึ่งผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีแดงเหลือง เมล็ดมีจำนวน 1 เมล็ด/ผล รูปร่างเมล็ดมีลักษณะเป็นทรงรี ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ
...
แสงนีออน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leucophyllum frutescens (Berl.) Johnson
วงศ์ : SCROPHULARIACEAE
ชื่อสามัญ : purple sage, texas ranger, silverleaf, white sage
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่ม สูง 1 - 2 เมตร พุ่มกว้างประมาณ 1 - 2 เมตร ใบเดี่ยว ผิวสัมผัสละเอียด ใบรูปไข่กลับถึงรูปรีสีเขียวอมเทา ยาว 2 - 3 เซนติเมตร มีขนอ่อนนุ่ม มักบิดห่อขึ้นเล็กน้อย ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเป็นดอกสีม่วงจางปลายแยกเป็น 5 แฉก สีม่วงสด ถึงสีชมพูอมม่วงแดง มักออกดอกพร้อมกันทั้งต้น มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโก กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในแถบลาตินอเมริกัน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำ ตอนกิ่ง ประโยชน์ : เป็นไม้ประดับ

ความเป็นมา

วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม สังกัดคณะกรรมการการการอาชีวศึกษา ได้เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและได้ดำเนินการจัดกิจกรรมตามองค์ประกอบของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนทั้ง 5 องค์ประกอบ อันได้แก่ การจัดทำป้ายชื่อรวบรวมพรรณไม้ การศึกษาข้อมูลต่าง ๆ การเขียนรายงานผลการเรียนรู้ และการนำไปใช้ประโยชน์ในการบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนมาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายทั้งกิจกรรมทางด้านวิชาการซึ่งเป็นการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการ ตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษา ได้ศึกษาค้นคว้า สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับพรรณไม้ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในวิทยาลัยและนอกวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนนักศึกษามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มีบทบาทในการค้นคว้ารวบรวมข้อมูล เผยแพร่ความรู้และที่สำคัญคือนักเรียน นักศึกษาเข้าใจถึงความสำคัญและประโยชน์ของทรัพยากรทั้งสามฐาน ตลอดจนให้รู้จักหวงแหน รู้จักการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งมีความสำคัญต่อการจัดการ การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรของวิทยาลัยฯ อย่างยั่งยืน เพื่อให้การดำเนินการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์และดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐมจึงได้จัดทำโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โดยกำหนดขอบเขตพื้นที่ในวิทยาลัยให้นักเรียน นักศึกษาแต่ละกลุ่มรับผิดชอบในการดูแล และใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับพรรณไม้ ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้ใช้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

แผ่แม่บท

NOT NOW

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)
2. เพื่อสำรวจและเก็บรวบรวมพรรณไม้ในเขตพื้นที่วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม
3. เพื่อให้ได้ข้อมูลความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ของพรรณไม้ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาเข้าใจถึงความสำคัญและประโยชน์ของพรรณไม้ ให้รู้จักหวงแหน รู้จักการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งมีความสำคัญต่อการจัดการในการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรของวิทยาลัยฯ อย่างยั่งยืน